ประโยชน์ของสเต็มเซลล์ (STEM CELL)

Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter

สเต็มเซลล์ ( STEM CELL ) ชื่อนี้คงได้ยินกันมาสักพักแล้ว แล้วรู้กันไหมคะว่าสเต็มเซลล์นี้มีประโยชน์มากขนาดไหน วงการแพทย์ให้ความสำคัญกับสเต็มเซลล์มาก ๆ เพราะช่วยรักษาเกี่ยวกับโรคเลือดได้เป็นอย่างดี แต่จะมีประโยชน์อื่นยังไงเพิ่มเติมมาก มาดูกันค่ะ

ประโยชน์สเต็มเซลล์ ( STEM CELL ) สเต็มเซลล์จะถูกใช้ในการรักษาโรค โดยใช้เป็นเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อพัฒนาให้ได้เซลล์ หรืออวัยวะสำหรับทดแทนเซลล์ เนื้อเยื่อ หรืออวัยวะในร่างกายที่เสื่อมหรือตายจากโรคหรือสาเหตุต่าง ๆ อาทิ กล้ามเนื้อหัวใจ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ไขกระดูกสันหลัง เป็นต้น


สเต็มเซลล์จากตัวอ่อนสามารถพัฒนา และเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์เฉพาะเจาะจงชนิดอื่น ๆ ได้หลายชนิด ดังนั้น ถ้าปล่อยให้สเต็มเซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลง ( differentiate ) ได้ตามปกติ ( sponta neous ) ในที่สุดก็จะได้เซลล์หลายชนิดเกิดขึ้นรวม ๆ กันอยู่ในจานเลี้ยง เช่น ได้ทั้งเซลล์ประสาท เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และเซลล์เม็ดเลือด ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่วิธีที่มีประสิทธิภาพในการผลิตเซลล์ชนิดใดชนิดหนึ่งที่ต้องการนำไปใช้กับผู้ป่วย หรือนำไปใช้ในการศึกษาวิจัย


นักวิทยาศาสตร์จึงหาวิธีควบคุมการเปลี่ยนแปลง ขณะที่สเต็มเซลล์พัฒนาด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การเลือกใช้ส่วนประกอบของอาหารสำหรับการเลี้ยงเซลล์ และการดัดแปลงยีนของสเต็มเซลล์ใหม่ด้วยการใส่ยีนที่ต้องการลงไป ทำให้สเต็มเซลล์ในจานเลี้ยงสามารถพัฒนา และเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เฉพาะที่ต้องการได้


ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์จึงหันมาใช้สเต็มเซลล์จากร่างกายในการเป็นเซลล์ต้นกำเนิด โดยเฉพาะเซลล์ที่สมบูรณ์จากคนไข้ เพราะสามารถทำให้พัฒนา และเปลี่ยนเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อที่เข้ากับผู้ป่วยได้ง่ายชนิดของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ( STEM CELL )
• การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง (autologous stem cell transplantation)
• การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้บริจาค (allogenic stem cell transplantation) ซึ่งสามารถมีแหล่งของผู้บริจาคได้ต่าง ๆ ดังนี้
– ผู้บริจาคเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน ที่มีลักษณะพันธุกรรมจากการตรวจ (human leukocyte antigen: HLA) เข้ากันได้ 100% (match-related donor)
– ผู้บริจาคที่มี HLA ไม่ตรงกับผู้รับ 100% (mismatch donor)
– ผู้บริจาคที่ไม่ใช่พี่น้องของผู้รับ แต่มี HLA ที่เข้ากันได้ 100% (match-unrelated donor)
– ผู้บริจาคมี HLA ที่เข้ากันได้กับผู้รับเพียงครึ่งเดียว (haploidentical donor) ส่วนใหญ่ผู้บริจาคมักเป็นพี่น้องท้องเดียวกัน หรือพ่อแม่ลูก

แหล่งของเซลล์ต้นกำเนิด ( STEM CELL )
เราสามารถเก็บแยกเซลล์ต้นกำเนิดได้จาก
• ไขกระดูก
• กระแสเลือด
• รกของเด็กแรกเกิด


การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของตนเอง สามารถใช้ในการรักษาอะไรได้บ้าง ?
• มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิด multiple myeloma
• มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma)
• มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia)
• โรคภูมิคุ้มกันผิดปกติบางชนิดที่มีความรุนแรงมาก จนการรักษาด้วยยาไม่ได้ผล

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดโดยใช้เซลล์ของผู้บริจาค สามารถใช้ในการรักษาอะไรได้บ้าง ?
• มะเร็งต่อมน้ำเหลือง (lymphoma)
• มะเร็งเม็ดเลือดขาว (leukemia)
• ไขกระดูกฝ่อ (aplastic anemia)
• โรค paroxysmal nocturnal hemoglobinuria (PNH)
• โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (severe combined immune deficiency: SCID)
• โรค Wiskott-Aldrich syndrome ซึ่งเป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม
• โรค pure red cell aplasia
• โรค amegakaryocytosis/congenital thrombocytopenia
• โรคธาลัสซีเมีย
• โรคโลหิตจางชนิด sickle cell (sickle cell anemia)
• โรคพันธุกรรมเมตาบอลิก (inherited metabolic disorders)
• โรค myelodysplastic syndrome ซึ่งเป็นโรคที่มีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดในไขกระดูก

วิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด ( STEM CELL )
ก่อนเข้ารับการรักษา ผู้ป่วยจะได้รับการประเมินความพร้อมและเตรียมตัว โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสม รวมถึงแผนการรักษาก่อนการปลูกถ่าย ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสง
เมื่อเริ่มการรักษา ผู้ป่วยจะต้องนอนพักรักษาตัวในห้องปลอดเชื้อแบบพิเศษ เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อ จากนั้นผู้ป่วยจะได้รับยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสงเพื่อทำลายเซลล์ที่ผิดปกติในร่างกาย ( มีผลต่อเซลล์ปกติอื่น ๆ ด้วย ) เมื่อได้รับยาเคมีบำบัดและ/หรือการฉายแสงแล้ว ผู้ป่วยจะได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดทางหลอดเลือดดำใหญ่ โดยช่วงเวลาที่เหลือจะเป็นการพักฟื้นให้ไขกระดูกหรือเซลล์ต้นกำเนิดทำงาน ระยะนี้ผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น

ความเสี่ยง และภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
• ภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรงจากภูมิต้านทานต่ำในช่วงของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด
• ภาวะร่างกายต่อต้านเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ซึ่งมักพบในผู้ป่วยที่ได้รับเซลล์ต้นกำเนิดจากผู้บริจาค หรือ เกิดภาวะร่างกายปฏิเสธเซลล์ต้นกำเนิดที่ได้รับ ซึ่งทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย
• ผลจากการได้รับยาเคมีบำบัดขนาดสูง ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ ภายในร่างกาย และอาจมี อันตรายถึงชีวิต

สเต็มเซลล์เหนี่ยวนำ ( induced pluripotent stem cells หรือ iPSCs )
ในปีพ.ศ. 2549 นักวิทยาศาสตร์ได้ประสบความสำเร็จขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง โดยสามารถนำเซลล์ร่างกาย มาจัดโปรแกรมทางพันธุกรรมเสียใหม่ แล้วทำให้เซลล์นั้นเกิดมีสภาวะที่เหมือนสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน คือ สามารถเพิ่มจำนวน และพัฒนาไปเป็นเซลล์หรือเนื้อเยื่อเฉพาะชนิดอื่น ๆ ได้ โดยครั้งแรกนั้นทำ iPSCs ขึ้นมาได้จากหนูทดลอง ต่อมาในปลายปี พ.ศ. 2550 จึงสามารถทำ iPSCs จากมนุษย์ได้ อย่างไรก็ดี แม้ว่า iPSCs จะมีคุณสมบัติทางกายภาพเหมือนสเต็มเซลล์จากตัวอ่อน แต่ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า สเต็มเซลล์ทั้ง 2 ประเภทนี้ จะให้ผลทางการแพทย์เหมือนกันทุกประการหรือไม่ ซึ่งถ้า iPSCs สามารถใช้แทนสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนได้ ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการรักษาผู้ป่วยเพราะในบางกรณี แพทย์ไม่สามารถนำเอาสเต็มเซลล์ของตัวผู้ป่วยเองมาใช้ได้ ดังนั้นถ้าเอาเซลล์ร่างกายของผู้ป่วยมาเหนี่ยวนำให้เป็นสเต็มเซลล์พวก iPSCs แล้วเอามาใช้แทนได้ ก็จะเป็นผลดีกับตัวผู้ป่วยเป็นอย่างมากในเรื่องของการยอมรับเนื้อเยื่ออวัยวะใหม่ โดยไม่น่าที่ภูมิคุ้มกันจะเกิดการต่อต้านขึ้นมา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก luxurysocietyasia

บทความอื่นๆที่เกี่ยวข้อง