Date

การรักษาโรคด้วยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดชนิด MSCs

การนำเซลล์ต้นกำเนิดชนิดมีเซนไคม์มาใช้รักษาผู้ป่วย

สเต็มเซลล์ (STEM CELLS)

  • เซลล์ต้นกำเนิด คือเซลล์อ่อนที่พร้อมแบ่งตัวเองขึ้นมาใหม่
  • ซึ่งมีศักยภาพที่จะพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่างๆ ของร่างกาย เพื่อทำหน้าที่อย่างใดอย่างหนึ่งในร่างกายของมนุษย์
  • แต่ละเซลล์จะพัฒนาเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะอย่างใดอย่างหนึ่ง [1].

ตัวอย่างการรักษาโรคด้วยการใช้เซลล์ต้นกำเนิดชนิด MSCs

  1. AUTISM SPECTRUM DISORDER (ASD)
  2. CEREBRAL PALSY (CP)
  3. HEART FAILURE
  4. MULTIPLE SCLEROSIS (MS)
  5. SYSTEMIC LUPUS ERYTHEMATOSUS (SLE)
  6. TYPE 1 DIABETES MELLITUS (T1DM)
  7. TYPE 2 DIABETES MELLITUS (T2DM)

1 AUTISM SPECTRUM DISORDER (ASD)

คือ กลุ่มอาการที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางด้านพัฒนาการทางภาษาและการสื่อสาร การเข้าสังคม การมีความสนใจซ้ำ หรือมีรูปแบบการกระทำเป็นแบบแผนจำกัดในเรื่องเดิม

สาเหตุการเกิดโรค ASD
สมมุตติฐานของการเกิดโรค 3 สาเหตุ

  • Neuroinflammation
  • Microglial activation
  • Immune dysregulation

In preclinical models : hCT-MSCs ยับยั้งการตอบสนอง T-cells และ ลดกิจกรรม microglial

  1. กลุ่มทดลอง: เด็ก 12 คน อายุ 4-9 ปี ที่เป็นโรค ASD
  2. การทดลอง: Intravenous (IV) infusions human umbilical cord tissue mesenchymal stromal cells (hCT-MSCs) Doses: 2.5 million cells/kg (1-3 ครั้ง) ทุกๆ 2 เดือน
  3. ผลการทดลอง:
    – เด็ก 5 ใน 12 คน มีการสร้างแอนติบอดีต่อ HLA class 1
    – เด็ก 6 ใน 12 คน พบว่ามีอาการของโรค ASD ลดลง
    การฉีด MSC ที่ได้รับมาจากผู้อื่น มีความปลอดภัยต่อเด็กที่ป่วยเป็น ASD [2]

2 CEREBRAL PALSY (CP)

เป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากการบาดเจ็บอย่างถาวรในสมองที่ยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของการเคลื่อนไหวและท่าทาง โดยที่การบาดเจ็บในสมองนั้นจะต้องเป็นชนิดคงที่ไม่รุนแรงมากขึ้น

  1. กลุ่มทดลอง: 56 คน ที่เป็นโรค CP
    • แบ่ง 27 คน รักษาด้วย hUCB-MSC
    • แบ่ง 27 คน รักษายาหลอก (กลุ่มควบคุม)
  2. การทดลอง: Intravenous (IV) infusions human umbilical cord blood mesenchymal cells (hUCB- MSCs)
    Doses: 50 million cells/dose (4 ครั้ง)
  3. ผลการทดลอง:
    – พบว่า กลุ่มที่ได้ฉีด hUCB-MSC factors GMFM-88 scores, CFA, EEG, MRI ดีขึ้น ตั้งแต่ 3 ไปจนถึง 24 เดือนหลังจากการติดตามผล
    การฉีด MSC ที่ได้รับมาจากผู้อื่น มีความปลอดภัยต่อผู้ป่วยเป็น CP [3]

3 HEART FAILURE

ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure)
คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอจนส่งผลให้อวัยวะต่างเกิดการขาดออกซิเจน

  1. กลุ่มทดลอง: 30 คน ที่เป็นโรค heart failure
    • แบ่ง 15 คน รักษาด้วย UC-MSC
    • แบ่ง15 คน รักษาด้วยยาหลอก (กลุ่มควบคุม)
  2. การทดลอง: Intravenous (IV) infusions Umbilical Cord Mesenchymal Stem Cells (UC-MSCs)
    Doses: 1 million cells/kg of body weight
  3. ผลการทดลอง:
    – กลุ่มที่ได้ฉีด UC-MSC ตรวจวัดด้วยเครื่อง cardiac MRI พบว่าการทำงานของหัวใจทำงานได้ดีขึ้น ตั้งแต่ 3-24 เดือนหลังจากได้รับการรักษา
    – ติดตามอาการ 24 เดือนหลังจากการรักษาพบว่า กลุ่มทำลองไม่เกิดความผิดปกติใดๆ แสดงให้เห็นว่า UC-MSC มีความปลอดภัยและไม่มีผลข้างเคียงต่อคนไข้ [4]

4 MULTIPLE SCLEROSIS (MS)

โรคเอ็มเอสเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์เม็ดเลือดขาวบางชนิดในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ก่อให้เกิดการอักเสบและทำลายเนื้อเยื่อปลอกหุ้มประสาทหรือมัยอิลิน (myelin sheath) ในระบบประสาทส่วนกลาง

ซึ่งหากเกิดการอักเสบและทำลายปลอกหุ้มประสาทบ่อยครั้งจะส่งผลให้เกิดแผลเป็นสะสมขึ้นหลายบริเวณในระบบประสาท ผู้ป่วยจะมีอาการผิดปกติในรูปแบบต่างๆ ขึ้นกับตำแหน่งที่มีการทำลายปลอกประสาทและอาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพทางระบบประสาทในระยะยาวได้

  1. กลุ่มทดลอง: 20 คน อายุ 24-55 ปี ที่เป็นโรค MS
  2. การทดลอง: Intravenous (IV) infusions human umbilical cord blood mesenchymal cells (UC-MSCs)
    Doses: 20 million cells (1 ครั้ง)
  3. ผลการทดลอง:
    • กลุ่มที่ฉีด UC-MSCs พบว่าอาการต่างๆ ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด 1 เดือนหลังการรักษา เช่น
    • อาการปวดศีรษะหรือเหนื่อยล้า
    • การทำงานของลำไส้, กระเพาะปัสสาวะ และ ความผิดปกติทางเพศ
    • ติดตามอาการ 1 ปีหลังการรักษา ตรวจสอบด้วยเครื่องสแกน MRI ของสมองและไขสันหลังสวนคอ ผู้ป่วย 83.3% ไม่พบรอยต่อของโรค [5]

5 SYSTEMIC LUPUS ERYTHEMATOSUS (SLE)

คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน โดยภูมิคุ้มกันของคน ๆ นั้นทำลายเนื้อเยื่อภายในร่างกายของตัวเองจนเกิดการอักเสบและสามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับอวัยวะได้ทั่วร่างกาย พบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในช่วงวัยเจริญพันธุ์ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยร่วมอื่น ๆ ที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคได้ เช่น กรรมพันธุ์ (อาจจะมีสารพันธุกรรมบางชนิดที่สัมพันธ์กับการเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง) ส่วนปัจจัยที่กระตุ้นให้โรคกำเริบมากขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อภายในร่างกาย แสงแดด เป็นต้น

  1. กลุ่มทดลอง: 6 คน อายุ 26-48 ปี ที่เป็นโรค SLE
  2. การทดลอง: Intravenous (IV) infusions umbilical cord Mesenchymal Stem Cells (UC-MSCs)
    Doses: 1 million cells/kg of body weight
  3. ผลการทดลอง:
    • กลุ่มที่ฉีด 5 ใน 6 คน มีการเพิ่มขึ้นของ B cells
    • 2 ใน 6 คน มีการเพิ่มขึ้นของ Helios+Treg cells และ GARP-TGFβ complexes
    • การทดลองระยะที่ 1 นี้แสดงให้เห็นว่าการฉีด UC-MSC มีความปลอดภัยสูงและอาจมีประสิทธิภาพในโรคSLE การเปลี่ยนแปลง B cells และ GARP-TGFβ ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับกลไกที่ MSCs อาจส่งผลกระทบต่อโรค [6]

6 TYPE 1 DIABETES MELLITUS (T1DM)

  เป็นโรคเรื้อรังที่มีสาเหตุมาจากเซลล์ในตับอ่อนถูกทำลายจนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้ เมื่อร่างกายขาดอินซูลินจึงเกิดปัญหาในการนำกลูโคสเข้าสู่เซลล์ในร่างกายผ่านทางระบบไหลเวียนโลหิต

    ทำให้เกิดการสะสมของน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย หิวหรือกระหายน้ำมาก ปัสสาวะบ่อย เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย หรืออาการอื่น ๆ

  1. กลุ่มทดลอง: 29 คน ที่เป็นโรค T1DM
    แบ่ง 15 คน รักษาด้วย Wharton’s jelly-derived mesenchymal stem cells (WJ-MSC)
    แบ่ง14 คน รักษาด้วย normal saline based on insulin intensive therapy
  2. การทดลอง: รักษาด้วย Wharton’s jelly-derived mesenchymal stem cells (WJ-MSC)
    Doses: 15-32 million cells
  3. ผลการทดลอง:
    • กลุ่มที่รักษาด้วย WJ-MSC พบว่าปริมาณการใช้อินซูลินในชีวิตประจำวันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในเดือนที่ 6 เดือน
    • ค่าน้ำตาลเฉลี่ยที่สะสมในเลือดเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในเดือนที่ 9
    • ปริมาณกลูโคสหลังมื้ออาหารเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในเดือนที่ 9
    • ตับอ่อนสามารถสร้างอินซูลินได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ 6 เดือน
    • เมื่อผ่านไป 24 เดือนพบว่าผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และไม่มีผลข้างเคียงหลังจากการรักษา [7]

7 TYPE 2 DIABETES MELLITUS (T2DM)

คือตับอ่อนผลิตอินสุลินซึ่งเป็นฮอร์โมนที่นำน้ำตาลและไขมันเข้าไปในเซลได้ตามปกติแต่มีเหตุจากการได้รับไขมันจากอาหารมากเกินไปจนอินสุลินนำไขมันเข้าไปเก็บไว้ในเซลล์มากเกินไป ทำให้เซลล์ร่างกายดื้อต่ออินซูลินไม่รับเอาทั้งน้ำตาลและทั้งไขมันเข้าไปในเซลล์ (insulin resistance) ทำให้น้ำตาลคั่งค้างอยู่ในกระแสเลือดถึงแม้ว่าตับอ่อนยังคงผลิตอินซูลินได้ตามปกติ

  1. กลุ่มทดลอง: 16 คน ที่เป็นโรค T2DM
    อายุเฉลี่ย 53 ปี ชาย 12 คน หญิง 4 คน
  2. การทดลอง: Intravenous (IV) infusions human umbilical cord-mesenchymal stem cell (hUC-MSC)
    Doses: 1 million cells/kg of body weight (3 ครั้ง)
  3. ผลการทดลอง:
    • กลุ่มที่รักษาด้วย hUC-MSC พบว่าปริมาณกลูโคสขณะอาหารเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในวันที่ 14
    • ค่าน้ำตาลเฉลี่ยที่สะสมในเลือดเริ่มลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ในวันที่ 84
    • การทำงานของเบต้าเซลล์ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในวันที่ 28
    • ตับอ่อนสามารถสร้างอินซูลินได้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ตั้งแต่ 6 เดือน
    • เมื่อผ่านไป 28 วันพบว่าผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และไม่มีผลข้างเคียงหลังจากการรักษา [8]

ที่มา

  • Marshak, D. R.;  Gardner, R. L.; Gottlieb, D. I., Stem cell biology. 2001.
  • Sun, J.M., et al., Infusion of human umbilical cord tissue mesenchymal stromal cells in children with autism spectrum disorder. Stem Cells Transl Med, 2020. 9(10): p. 1137-1146.
  • Huang, L., et al., A Randomized, Placebo-Controlled Trial of Human Umbilical Cord Blood Mesenchymal Stem Cell Infusion for Children With Cerebral Palsy. Cell Transplant, 2018. 27(2): p. 325-334.
  • Bartolucci, J., et al., Safety and Efficacy of the Intravenous Infusion of Umbilical Cord Mesenchymal Stem Cells in Patients With Heart Failure: A Phase 1/2 Randomized Controlled Trial (RIMECARD Trial [Randomized Clinical Trial of Intravenous Infusion Umbilical Cord Mesenchymal Stem Cells on Cardiopathy]). Circ Res, 2017. 121(10): p. 1192-1204.
  • Riordan, N.H., et al., Clinical feasibility of umbilical cord tissue-derived mesenchymal stem cells in the treatment of multiple sclerosis. J Transl Med, 2018. 16(1): p. 57.
  • Kamen, D.L., et al., Safety, immunological effects and clinical response in a phase I trial of umbilical cord mesenchymal stromal cells in patients with treatment refractory SLE. Lupus Sci Med, 2022. 9(1): p. e000704.
  • Hu, J., et al., Long term effects of the implantation of Wharton’s jelly-derived mesenchymal stem cells from the umbilical cord for newly-onset type 1 diabetes mellitus. Endocr J, 2013. 60(3): p. 347-57.
  • Lian, X.F., et al., Effectiveness and safety of human umbilical cord-mesenchymal stem cells for treating type 2 diabetes mellitus. World J Diabetes, 2022. 13(10): p. 877-887.

More
articles